ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อบทความวิจัย การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
PARTICIPATION OF THE PEOPLE IN THE PREPARATION OF LOCAL DEVELOPMENT PLANS OF DONMASANG SUB-DISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, MUEANG SUPHANBURI DISTEICT IN SUPHANBURI PROVINCE
ชื่อผู้แต่ง ประภัสสร เจริญผล
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขา นโยบายสาธารณะและการจัดการสมัยใหม่
ปี 2565
รายละเอียด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ จำนวน 358 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ตามแบบของลิเคิร์ต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แรงจูงใจ เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ผลประโยชน์ เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ทัศนคติ เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก 2. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ในภาพรวมมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านดำเนินการ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านตัดสินใจ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก และค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านรับประโยชน์ มีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก 3. ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ การศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ปัจจัยการมีส่วนร่วมของประชาชน ด้านทัศนคติ ผลประโยชน์ แรงจูงใจ และโอกาสที่เอื้ออำนวย มีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง กับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนมะสังข์ อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 คำสำคัญ : การมีส่วนร่วม ประชาชน แผนพัฒนาท้องถิ่น
The objectives of this quantitative survey research were 1) to study the level of factors of enhancing public participation in the preparation of local development plans 2) to study the level of public participation in the preparation of local development plans 3) to compare public participation in the preparation of local development plans and 4) to study the relationship between factors and public participation in the preparation of local development plans of Donmasang Sub-District Administrative Organization, Mueang Suphanburi District in Suphanburi Province. The sample included 358 residents in Donmasang Sub-District Administrative Organization, Mueang Suphanburi District in Suphanburi Province. Data were collected using 5-point rating scale questionnaire and were analyzed using descriptive statistics i.e., frequency, percentage, MEAN, and standard deviation. Hypothesis was tested by inferential statistics – One-way ANOVA and Pearson’s correlation coefficient. The findings revealed the following. 1. The factors of enhancing public participation in the preparation of local development plans were generally found at the high level. After item analysis, the motivation was the item with the highest MEAN followed by benefits and attitude as the one with the lowest MEAN. 2. The public participation in the preparation of local development plans were generally found at the high level. After item analysis, operation was the item wit the highest MEAN followed by decision and sharing benefits was the one with the lowest MEAN. 3. Personal factors such as sex, age, education, marital status, occupation, and income did not significantly have and effects on difference in public participation in the preparation of local development plans. 4. The factors i.e., attitude, benefits, motivation, and opportunity were positively related at the moderate level to public participation in the preparation of local development plans at 0.01 significance level. Keyword: Participation, Public, Local Development Plans
ไฟล์เอกสาร Download       ประเภทไฟล์ (pdf) ขนาด 260.26 KB
วันที่บันทึก 2023-04-07 08:22:30

กลับไปหน้าที่แล้ว

กลับไปหน้าหลัก