ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อบทความวิจัย กิจกรรมการต้านเชื้อจุลินทรีย์และกิจกรรมต้านไบโอฟิล์ม ของสารสกัดจากกากกัญชา
Antimicrobial and Anti-biofilm Activity of Cannabis sativa Residue
ชื่อผู้แต่ง เอื้อการย์ หินทอง
หลักสูตร วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขา ผลิตภัณฑ์สมุนไพรกัญชงและกัญชา
ปี 2566
รายละเอียด ปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์และการสาธารณสุข คือ การเจ็บป่วยเนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรียก่อโรค การศึกษาหาสารใหม่ ๆ เพื่อมายับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคเหล่านี้จึงมีความสำคัญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นของตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากกากกัญชา และกิจกรรมต้านเชื้อแบคทีเรียก่อโรครวมไปถึงกิจกรรมต้านไบโอฟิล์มของสารสกัดจากกากกัญชา พบว่าสารสกัดจากกากกัญชาที่สกัดด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคทดสอบ ได้แก่ Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Salmonella enterica serovar Typhimurium และ Staphylococcus aureus ได้ดีไม่แตกต่างจากเอทานอลที่ความเข้มข้นอื่นที่ศึกษา ค่าความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเชื้อได้ (Minimum inhibitory concentration; MIC) พบว่ามีค่า MIC ของสารสกัดจากกากกัญชาต่อแบคทีเรีย E. coli, K. pneumoniae, Salmonella Typhimurium และ S. aureus คือ ความเข้มข้นที่ 250, 250, 125 และ 15.625 μg/ml ตามลำดับ เมื่อทดสอบค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดจากกากกัญชาที่ฆ่าเชื้อได้ (Minimum bactericidal concentration; MBC) พบว่าสารสกัดมีค่า MBC ต่อแบคทีเรีย E. coli, K. pneumoniae, Sal. Typhimurium และ S. aureus ที่ความเข้มข้น 500, 500, 250 และ 31.25 μg/ml ตามลำดับ ทั้งนี้ผลการศึกษาความสามารถของสารสกัดจากกากกัญชาต่อการยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อแบคทีเรียก่อโรค พบว่าสารสกัดนี้สามารถลดการสร้างไบโอฟิล์มของเชื้อ E. coli, K. pneumoniae, Sal. Typhimurium และ S. aureus ได้ร้อยละ 37.87, 40.37, 60.87 และ 79.78 ตามลำดับ โดยยับยั้งการสร้างไบโอฟิล์มของแบคทีเรียแกรมบวกได้สูงที่สุด ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของสารสกัดจากกากกัญชาในการใช้เป็นสารชีวภาพในการต้านจุลินทรีย์ คำสำคัญ: กัญชา สารสกัดหยาบ กิจกรรมต้านเชื้อก่อโรค ไบโอฟิล์ม
One of the major problems affecting human health and public health is illness due to infection with pathogenic bacteria. Studying new substances to inhibit these pathogenic bacteria is therefore important. The objective of this research was to study the appropriate solvent concentration for extracting bioactive compounds from cannabis residue and antibacterial activity against pathogenic bacteria including anti-biofilm activity of cannabis residue extracts. It was found that extracts from cannabis residue extracted with 50 % ethanol were able to inhibit pathogenic bacteria tested, including Escherichia coli, Klebsiella pneumoniae, Salmonella enterica serovar Typhimurium and Staphylococcus aureus just as well as ethanol at other studied concentrations. The minimum inhibitory concentration (MIC) of cannabis residue extract against E. coli, K. pneumoniae, Salmonella Typhimurium and S. aureus was 250, 250, 125 and 15.625 μg/ml, respectively. The minimum bactericidal concentration (MBC) of cannabis residue extracts was found that the extracts had MBC values for bacteria E. coli, K. pneumoniae, Sal. Typhimurium and S. aureus was concentrations of 500, 500, 250 and 31.25 μg/ml, respectively. The results of the study on the ability of cannabis residue extract to inhibit the biofilm of pathogenic bacteria was found that this extract was able to reduced biofilm formation of E. coli, K. pneumoniae, Sal. Typhimurium and S. aureus at 37.87%, 40.37%, 60.87% and 79.78%, respectively. The crude extract inhibited biofilm formation of gram-positive bacteria better than gram-negative bacteria. The results of this study demonstrate the potential of cannabis residue extracts to be used as antimicrobial biological agents. Keywords: Cannabis, Crude extract, Antimicrobial activity, Biofilm
ไฟล์เอกสาร Download       ประเภทไฟล์ (pdf) ขนาด 150.36 KB
วันที่บันทึก 2023-12-19 12:01:58

กลับไปหน้าที่แล้ว

กลับไปหน้าหลัก