ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อบทความวิจัย การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
Administration Based on Good Governance of Hat Tha Sao Subdistrict Municipality, Mueang District, Chai Nat Province
ชื่อผู้แต่ง สุรศักดิ์ โตประสี , กัณญาณัฐ เสียงใหญ่ , และพรพิมล ตัณฑสวัสดิ์
Surasak Toprasee, Kanyanat Seangyai and Pornpimon Tantasawat
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขา นโยบายสาธารณะและการจัดการสมัยใหม่
ปี 2566
รายละเอียด บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรี 2) ศึกษาระดับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล 3) ศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรีกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 371 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น .945 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรที่จำแนกเป็น 2 กลุ่ม การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบสหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1. ภาวะผู้นำของนายกเทศมนตรีของเทศบาลตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ในภาพรวมมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก 2. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ในภาพรวมมีธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมาก 3. ประชาชนที่มีปัจจัยส่วนบุคคล ด้านเพศ และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหาดท่าเสา แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 4. ภาวะผูนำมีความสัมพันธในทางบวกระดับสูงทุกด้านกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลหาดท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 คำสำคัญ : ภาวะผู้นำ หลักธรรมาภิบาล การปกครองสวนทองถิ่น เทศบาล
Abstract This survey research which is a quantitative data survey aimed to 1) study the level of leadership of the mayor, 2) study the level of administration based on good governance, 3) compare public opinions towards administration based on good governance divided by individual factors, and 4) study the relationship between leadership of the mayor and the administration based on good governance of Hat Tha Sao Subdistrict Municipality, Mueang District, Chai Nat Province. The sample group consisted of 371 individuals. The data collection tool used was a 5-point rating scale questionnaire with a reliability of .945. Data were analyzed using descriptive statistics, including frequency, percentage, mean, and standard deviation. Hypotheses were tested using inferential statistics, including paired sample t-test, one-way ANOVA and correlation analysis. The research findings were as follows: 1. The leadership of the mayor of Hat Tha Sao Subdistrict Municipality, Mueang District, Chai Nat Province, was generally at a high level. 2. The administration based on good governance of Hat Tha Sao Subdistrict Municipality, Mueang District, Chai Nat Province , was generally at a high level. 3. Individuals with different factors including such as gender and monthly income exhibited significant differences in their opinions towards the administration based on good governance of Hat Tha Sao Subdistrict Municipality, Mueang District, Chai Nat Province, with statistical significance at 0.05. 4. Leadership of the mayor exhibited a significant positive relationship with the administration based on good governance of Hat Tha Sao Subdistrict Municipality, Mueang District, Chai Nat Province, at a statistically significant level of 0.01. Keywords: Leadership, Good governance, Local government, Municipality
ไฟล์เอกสาร Download       ประเภทไฟล์ (pdf) ขนาด 222.54 KB
วันที่บันทึก 2024-03-26 15:31:40

กลับไปหน้าที่แล้ว

กลับไปหน้าหลัก