หัวข้อวันที่ ๑๗ – ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ อาจารย์ฐิติยา กลบสันเทียะ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.นัยนพัศ อินจวงจิรกิตต์ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ หรดาล และรองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ทีฆทรัพย์ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เดินทางไปราชการ ณ Leshan Normal University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อดำเนินการเป็นเจ้าภาพร่วมในการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ |
รายละเอียด รายงานการดำเนินกิจกรรมของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประจำเดือนตุลาคม ๒๕๖๗ กิจกรรมที่ 7 International Academic Conference "Quality and Balance: Local Practices of Digital Empowerment in Rural Education" อาจารย์ฐิติยา กลบสันเทียะ พร้อมด้วยอาจารย์ ดร.นัยนพัศ อินจวงจิรกิตต์ รองศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ หรดาล และรองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ทีฆทรัพย์ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เดินทางไปราชการ ณ Leshan Normal University ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อดำเนินการเป็นเจ้าภาพร่วมในการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติ ระหว่างวันที่ ๑๗ – ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗ รวม ๔ วัน ในหัวข้อเรื่อง "Quality and Balance: Local Practices of Digital Empowerment in Rural Education" การศึกษาในชนบทเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาการศึกษาระดับชาติ เพื่อสำรวจแนวทางปฏิบัติในท้องถิ่นในการสร้างคุณภาพการศึกษาในชนบท ค้นหาวิธีส่งเสริมการพัฒนาที่มีคุณภาพและสมดุลด้วยดิจิทัล และส่งเสริมความเข้าใจในระดับนานาชาติเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง "คุณภาพและสมดุล" โดยมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ประเทศไทย มหาวิทยาลัยเซนส์ มาเลเซีย มหาวิทยาลัยแมนิโทบา ประเทศแคนาดา มหาวิทยาลัยสตาวังเงอร์ ประเทศนอร์เวย์ และมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยหลายแห่งในเสฉวน ประเทศจีน รวมถึงตัวแทนครูและนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยของเราเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ในการประชุมทางวิชาการระดับนานาชาติครั้งนี้ ทางบัณฑิตวิทยาลัย นำโดย อาจารย์ฐิติยา กลบสันเทียะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นุกูล สาระวงศ์ และอาจารย์ ดร.นัยนพัศ อินจวงจิรกิตต์ ได้นำเสนอเรื่อง Model of leveraging digital technology to enhance educational learning in rural Thailand และรองศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ทีฆทรัพย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณกร สว่างเจริญ และ Dr. She Wanbin ได้นำเสนอเรื่อง Local Wisdom and Rural Education in the Digital Era |
|
|
|
|
ช่องทางการติดตาม