ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อบทความวิจัย ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดเกตุมดีศรีวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร
The Study of the Managerial Skills of Watkeatumdeesriwararam School Administrators of Samutsakhon Primary Educational Service Area
ชื่อผู้แต่ง ศราลี เพิ่มรุ่งเรือง* ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัชรา เดชโฮม** รองศาสตราจารย์ ดร.นิรันดร์ สุธีนิรันดร์***
หลักสูตร ครุศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขา การบริหารการศึกษา
ปี 2562
รายละเอียด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดเกตุมดีศรีวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร ในทักษะ 5 ด้าน คือ ทักษะด้านเทคนิค ทักษะด้านความคิด รวบยอด ทักษะด้านการศึกษาและการสอน ทักษะด้านความรู้ความคิด และทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนวัดเกตุมดีศรีวราราม จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และ แบบตรวจสอบรายการสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนวัดเกตุมดีศรีวราราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร พบว่า โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทักษะด้านความรู้ความคิด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ ทักษะด้านความคิดรวบยอด ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ ทักษะด้านเทคนิค ส่วนทักษะด้านการศึกษาและการสอน มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
The purpose of this research was to study the 5 aspects of administrative skills of Watketumdeesriwararam School’s administrator, Samutsakhon Primary Educational Service Area including technical, conceptual, educational and instructional, cognitive skills, and human relations. Twenty-seven teachers of Watketumdeesriwararam School were selected as population of this research. The instruments used in the research were five rating scale and checklists. Data were analyzed using percentage, arithmetic mean and standard deviation. The results revealed that the overall administrative skills of Watketumdeesriwararam School’s administrators were at high level. Considering each aspect, cognitive skills aspect was the highest, followed by conceptual skill; human relations; technical; and the lowest level was educational and instructional.
ไฟล์เอกสาร Download       ประเภทไฟล์ (pdf) ขนาด 486.23 KB
วันที่บันทึก 2020-08-21 10:48:40

กลับไปหน้าที่แล้ว

กลับไปหน้าหลัก