ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อบทความวิจัย การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Participatory Waste Management of Paknampran Sub-District Administrative Organization, Pranburi District,Prachuapkhirikhan Province
ชื่อผู้แต่ง กมลรัตน์ พูลสวัสดิ์
หลักสูตร รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต
สาขา นโยบายสาธารณะและการจัดการสมัยใหม่
ปี 2562
รายละเอียด การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยการจัดการและการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เปรียบเทียบการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลและ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากรคือประชาชนในเขตความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ จำนวน 5,994 คนได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 375 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับชนิดตรวจสอบรายการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t – distribution ค่า F - distributionและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า 1.ปัจจัยการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลางและการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาพรวมมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง 2.ประชาชนที่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส อาชีพ รายได้ปัจจุบัน ต่างกัน มีการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3.ปัจจัยด้านผลประโยชน์ของตนเอง แรงจูงใจ ทัศนคติ และโอกาสที่เอื้ออำนวย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมขององค์การบริหารส่วนตำบลปากน้ำปราณ อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คำสำคัญ : การมีส่วนร่วมของประชาชน การจัดการขยะ
This research aimed to 1) study the level of management factors and participatory waste management of Paknampran Sub-District Administrative Organization, Pranburi District, Prachuabkhirikhan Province; 2) compare the participatory waste management of Paknampran Sub-District Administrative Organization, Pranburi District, Prachuabkhirikhan Province classified by personal factors and 3) study relationship of factors of the participatory waste management of Paknampran Sub-District Administrative Organization, Pranburi District, Prachuabkhirikhan Province.The research population included 5,994 people living in the responsible area of Paknampran Sub-District Administrative Organization and a group of 375 people was selected as a sample. Statistical tools used this research were percentage, mean, standard deviation, t-distribution, F-distribution and multiple regression analysis. The research findings were as follows: 1. In terms of factors of participatory waste management of Paknampran Sub-District Administrative Organization, Pranburi District, Prachuabkhirikhan Province, respondents’ overall opinion was at intermediate level; and the level of participatory waste management of Paknampran Sub-District Administrative Organization, Pranburi District, Prachuabkhirikhan Province was intermediate. 2. In terms of the participatory waste management of people in Paknampran Sub-District Administrative Organization, Pranburi District, Prachuabkhirikhan Province, statistically significant differences were found in people from different gender, age, level of education, marital status, occupation and current income which was consistent with research hypothesis. 3. Factors including personal benefit, motivation, attitude and occasion were positively correlated with the participatory waste management of people in Paknampran Sub-District Administrative Organization, Pranburi District, Prachuabkhirikhan Province, with statistically significant differences. Keywords Public Participation, Waste Management
ไฟล์เอกสาร Download       ประเภทไฟล์ (pdf) ขนาด 126.61 KB
วันที่บันทึก 2021-08-22 09:48:26

กลับไปหน้าที่แล้ว

กลับไปหน้าหลัก